เจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร สวพ. 4 ร่วมตรวจสอบวัตถุอันตรายทางการเกษตรจังหวัดนครราชสีมา
- Details
- Category: ข่าวหน้าเว็บไซต์
- Published on Wednesday, 01 June 2022 15:03
- Written by กิตติภัทร บุคจำปา
- Hits: 350
วันที่ 31 พ.ค. 2565 ดร.ประพิศ วองเทียม ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 มอบหมายให้ นายกิติพร เจริญสุข ผอ.กลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ นางพรศุลี อิศรางกูร ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง นางสาวรัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และคณะ ร่วมสนธิกำลังกับ กองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการควบคุมผู้บริโภค เข้าตรวจสอบโกดัง เลขที่ 79 หมู่ 10 ตำบลกระซอน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่าได้มีการลักลอบผลิตวัตถุต้องสงสัยเป็นวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน และพบการผลิตปุ๋ยเคมีที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน การกระทำผิดดังกล่าวมีบทกำหนดโทษ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
1.ผู้ใดผลิต หรือมีไว้ในความครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 43,74
2.ผู้ใดผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ปลอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกิน 700,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 45(1),75
3.ผู้ใดผลิตหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 23,73
4.ผู้ใดผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 45(4),78
และ พ.ร.บ. ปุ๋ย พ.ศ.2518 และฉบับแก้ไข ฉบับที่ 2 พ.ศ.2550
1.ผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม มาตรา 12 วรรคหนึ่ง,57 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ผลิตเพื่อการค้า ปุ๋ยที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้ ตาม มาตรา 30 (5),71 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. มาตรา 63
ผู้ผลิตปุ๋ยเคมีปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา30(1)ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับในการนี้พนักงานเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร จึงได้ร่วมกันตรวจสอบ เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพที่กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เพื่อพิสูจน์ทราบ เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี และอายัดของกลางในการกระทำผิด คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 10 ล้านบาท
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |