สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 บูรณาการหน่วยความมั่นคงด้านการข่าวเพื่อปราบปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง วันที่ 8-9 มกราคม 2567

Details

1 0

          เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567  เวลา 10.30 น. นายขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 (สวพ.4) ในฐานะหัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษในการควบคุม กำกับ ดูแล บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ปุ๋ย ยาง และพันธุ์พืช สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 พร้อมด้วย        นายอิทธิพล บ้งพรม ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ สวพ.4 นางนวลจันทร์ ศรีสมบัติ ผอ.ศวพ.สุรินทร์ นางรัตติยา พวงแก้ว ผอ.ศวพ.บุรีรัมย์ นางสาวรัชดา  ปรัชเจริญวนิชย์ ผอ.ศวพ.นครราชสีมา นางสาวนิรมล  ดำพะธิก ผอ.ศวพ.อำนาจเจริญ นายเฉลียว ผาบุญ หัวหน้าด่านตรวจพืชช่องเม็ก นางสาวรุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ หัวหน้าด่านตรวจพืชช่องจอม สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมหารือเพื่อประสานงานด้านการข่าวแบบบูรณาการกับหน่วยงานความมั่นคง กองกำลังสุรนารี จ.สุรินทร์ กอ.รมน. ภาค 2 โดยมี พ.อ.อัครสิทธิ์ ปะกิระตา รอง ผอ.รมน.ภาค 2 สย.2 พ.อ.ภคพล มีทิพย์ รอง เสธ.กกล.สุรนารี พ.ท.จักรกฤษณ์ ขุริรัง หน.ฝกร.กกล.สุรนารี พ.ต.เชาว์วัศ สระสงค์ ผช.หน.ฝยก.กกล.สุรนารี ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายภารกิจกองกำลังสุรนารีในพื้นที่รับผิดชอบโดยครอบคลุมพื้นที่แนวชายแดน ไทย ลาว และกัมพูชา มีพื้นที่ติดกับระเทศไทยที่ จ.อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา การประชุมดังกล่าวสองหน่วยงาน มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ทั้งนี้กองกำลังสุรนารีได้มอบหมายให้ พ.ท.จักรกฤษณ์ ขุริรัง หน.ฝกร.กกล.สุรนารี เป็นผู้แทนประสานงานร่วมกับ นายอิทธิพล บ้งพรม ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ สวพ.4 และมีผู้ประสานงานตามจุดผ่านแดนถาวร และจุดผ่านแดนชั่วคราว ซึ่งสถานการณ์สินค้าด้านการเกษตรปัจจัยการผลิตตามแนวชายแดนที่มีการ นำเข้า ส่งออก ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กฎหมายอย่างถูกต้องโดยหน่วยงานกรมวิชาการเกษตรที่เป็นด่านตรวจพืชเป็นผู้กำกับตามกฎหมายได้มีการปฏิบัติและเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ตัวอย่างสินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าได้แก่ มันสำปะหลังสด มันสำปะหลังแห้ง (มันเส้น) มะม่วงแก้วขมิ้น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกาแฟ และพืชชนิดอื่นๆ ส่วนสินค้าส่งออก เช่น ปุ๋ย ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย 2518 สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย 2535 และสินค้าอุปโภค พื้นที่รับผิดชอบเป็นพื้นที่ตลอดแนวแม่น้ำโขงและแนวเทือกเขาพนมดงรักที่มีความเสี่ยงด้านกับระเบิด และเป็นป่ารกทึบการลักลอบมีโอกาสน้อย ทั้งนี้ กองกำลังสุรนารีได้จัดกำลังลาดตระเวนเพื่อหาข่าวอย่างต่อเนื่อง จากการรายงานการกระทำผิดด้านการลักลอบนำเข้า ส่งออกสินค้าเกษตรไม่พบการกระทำความผิด

          เวลา 13.00 น. เดินทางไปยังเขตผ่อนปรนการค้าช่องสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี พ.อ.ที เพิ่มผล ผบ. ทพ. 26 พร้อมคณะให้การต้อนรับบรรยายสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลการค้า จุดดังกล่าว โดยภารกิจหลักของหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 ป้องกันชายแดนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่รอยต่อหลักเขตแดนที่ 2 ช่องดาระกา อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ถึง หลักเขตแดนที่ 28 อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยช่องสายตะกูเป็นจุดผ่อนปรน ตรงข้ามจังหวัดอุดรมีชัยของประเทศกัมพูชา และจังหวัดบุรีรัมย์ประเทศไทย สินค้าเกษตรที่ส่งออกจะเป็นปุ๋ย ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย 2518 และสารป้องกันกำจัดแมลง ส่วนสินค้านำเข้า เช่นเสื้อผ้า อาหารป่า เป็นต้น เวลา 16.30 น. ร่วมตรวจสินค้านำเข้า ได้แก่ มะม่วงแก้วขมิ้น และมันเส้น กับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชช่องจอม จ.สุรินทร์ ไท่พบการกระทำความผิด

          วันที่ 9 มกราคม 2567  เวลา 08.30 น. เดินทางพร้อมคณะ ไปยังด่านตรวจพืชช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์  โดยมี พ.อ.ธานินทร์ ดมหอม นปพท.2 รอง ผบ.ฉก.2 พ.อ.ภคพล มีทิพย์ รอง เสธ.กกล.สุรนารี พ.ท.จักกฤษณ์ ขุริรัง หน.ฝกร.กกล.สุรนารี  พ.ต.วัฒนา อยู่สุข ฝอ.3 ฉก.2 นายชินวัฒน์ จันเกษม นายด่านศุลกากรช่องจอม นางสาวศิริพักตร์ สนสมบัติ หัวหน้าด่านตรวจสัตว์ป่าช่องจอม นายวัลลภ กองกรม  หัวหน้าด่านตรวจประมงสุรินทร์  ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปด้านสินค้าเกษตรในพื้นที่ด่านถาวรช่องจอม ซึ่งสินค้าที่มีการนำเข้ามากได้แก่ มันสำปะหลังสด มันสำปะหลังแห้ง (มันเส้น) มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นหลัก ในส่วนสินค้าส่งออกจะเป็นมะพร้าวผลสด ปุ๋ย ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย 2518 และสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย 2535 ซึ่งด่านตรวจพืชช่องจอมได้ดำเนินการเอกสารก่อนนำเข้า ส่งออก ให้เป็นไปตามกฎหมาย จากนั้นเดินทางไปยังด่านตรวจพืชช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นด่านตรวจพืชที่ติดกับประเทศกัมพูชา สินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าจะเป็นมะม่วง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำมันยาง และพริกสด เป็นหลัก การกระทำผิดในพื้นที่ ไม่พบการกระทำความผิด จากนั้นเดินคณะได้เดินทางไปยังจุดผ่อนปรนการค้าช่องอานม้า อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เพื่อตรวจเยี่ยมและรับฟังการบรรยายการค้าตามแนวชายแดนซึ่งจุดดังกล่าวเป็นพื้นที่ติดต่อ จ.พระวิหาร ของประเทศกัมพูชา และ จ.อุบลราชธานี ของประเทศไทย มีการเปิดให้ค้าขายเป็นช่วง สินค้าเกษตรที่นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่มะม่วงแก้วขมิ้น และมีการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ น้ำดื่ม นมกล่อง เป็นต้น 

         ทั้งนี้จากการเข้าร่วมประชุมและการลงพื้นที่ดังกล่าว นายขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 ได้เน้นย้ำกับผู้ปฏิบัติงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ ให้มีการประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และให้ปฏิบัติการเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าเกษตร ตามมาตรการป้องปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมายด้านพืช ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส   พรหมเผ่า และแนวทางการปฏิบัติงานของอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ ที่มุ่งเน้นปราบปราบสินค้าเกษตรและปัจจัยการผลิตที่ผิดกฎหมาย อันจะเป็นการช่วยป้องกันและปรามปรามผู้กระทำความผิดเบื้องต้นและเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตรของประเทศไทยเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในอนาคตต่อไป

2 0

3 0

4 0

5 0

6 0

7 0

8 0

9 0

10 0

11 0

12 0

13 0

14 0

15 0

16 0

 

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567  เวลา 10.30 น. นายขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 (สวพ.4) ในฐานะหัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษในการควบคุม กำกับ ดูแล บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ปุ๋ย ยาง และพันธุ์พืช สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 พร้อมด้วย        นายอิทธิพล บ้งพรม ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ สวพ.4 นางนวลจันทร์ ศรีสมบัติ ผอ.ศวพ.สุรินทร์ นางรัตติยา พวงแก้ว ผอ.ศวพ.บุรีรัมย์ นางสาวรัชดา  ปรัชเจริญวนิชย์ ผอ.ศวพ.นครราชสีมา นางสาวนิรมล  ดำพะธิก ผอ.ศวพ.อำนาจเจริญ นายเฉลียว ผาบุญ หัวหน้าด่านตรวจพืชช่องเม็ก นางสาวรุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ หัวหน้าด่านตรวจพืชช่องจอม สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมหารือเพื่อประสานงานด้านการข่าวแบบบูรณาการกับหน่วยงานความมั่นคง กองกำลังสุรนารี จ.สุรินทร์ กอ.รมน. ภาค 2 โดยมี พ.อ.อัครสิทธิ์ ปะกิระตา รอง ผอ.รมน.ภาค 2 สย.2 พ.อ.ภคพล มีทิพย์ รอง เสธ.กกล.สุรนารี พ.ท.จักรกฤษณ์ ขุริรัง หน.ฝกร.กกล.สุรนารี พ.ต.เชาว์วัศ สระสงค์ ผช.หน.ฝยก.กกล.สุรนารี ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายภารกิจกองกำลังสุรนารีในพื้นที่รับผิดชอบโดยครอบคลุมพื้นที่แนวชายแดน ไทย ลาว และกัมพูชา มีพื้นที่ติดกับประเทศไทยที่ จ.อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา การประชุมดังกล่าวสองหน่วยงาน มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับสินค้าเกษตรผิดกฎหมาย ทั้งนี้กองกำลังสุรนารีได้มอบหมายให้ พ.ท.จักรกฤษณ์ ขุริรัง หน.ฝกร.กกล.     สุรนารี เป็นผู้แทนประสานงานร่วมกับ นายอิทธิพล บ้งพรม ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ สวพ.4 และมีผู้ประสานงานตามจุดผ่านแดนถาวร และจุดผ่านแดนชั่วคราว ซึ่งสถานการณ์สินค้าด้านการเกษตรปัจจัยการผลิตตามแนวชายแดนที่มีการ นำเข้า ส่งออก ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กฎหมายอย่างถูกต้องโดยหน่วยงาน          กรมวิชาการเกษตรที่เป็นด่านตรวจพืชเป็นผู้กำกับตามกฎหมายได้มีการปฏิบัติและเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ตัวอย่างสินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าได้แก่ มันสำปะหลังสด มันสำปะหลังแห้ง (มันเส้น) มะม่วงแก้วขมิ้น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกาแฟ และพืชชนิดอื่นๆ ส่วนสินค้าส่งออก เช่น ปุ๋ย ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย 2518 สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย 2535 และสินค้าอุปโภค พื้นที่รับผิดชอบเป็นพื้นที่ตลอดแนวแม่น้ำโขงและแนวเทือกเขาพนมดงรักที่มีความเสี่ยงด้านกับระเบิด และเป็นป่ารกทึบการลักลอบมีโอกาสน้อย ทั้งนี้    กองกำลังสุรนารีได้จัดกำลังลาดตระเวนเพื่อหาข่าวอย่างต่อเนื่อง จากการรายงานการกระทำผิดด้านการลักลอบนำเข้า ส่งออกสินค้าเกษตรไม่พบการกระทำความผิด

เวลา 13.00 น. เดินทางไปยังเขตผ่อนปรนการค้าช่องสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี พ.อ.ที เพิ่มผล ผบ. ทพ. 26 พร้อมคณะให้การต้อนรับบรรยายสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลการค้า จุดดังกล่าว โดยภารกิจหลักของหน่วยเฉพาะกิจที่ 2 ป้องกันชายแดนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่รอยต่อหลักเขตแดนที่ 2 ช่องดาระกา อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ถึง หลักเขตแดนที่ 28 อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยช่องสายตะกูเป็นจุดผ่อนปรน ตรงข้ามจังหวัดอุดรมีชัยของประเทศกัมพูชา และจังหวัดบุรีรัมย์ประเทศไทย สินค้าเกษตรที่ส่งออกจะเป็นปุ๋ย ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย 2518 และสารป้องกันกำจัดแมลง ส่วนสินค้านำเข้า เช่นเสื้อผ้า อาหารป่า เป็นต้น เวลา 16.30 น. ร่วมตรวจสินค้านำเข้า ได้แก่ มะม่วงแก้วขมิ้น และมันเส้น กับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชช่องจอม จ.สุรินทร์ ไท่พบการกระทำความผิด

วันที่ 9 มกราคม 2567  เวลา 08.30 น. เดินทางพร้อมคณะ ไปยังด่านตรวจพืชช่องจอม อ.กาบเชิง   จ.สุรินทร์  โดยมี พ.อ.ธานินทร์ ดมหอม นปพท.2 รอง ผบ.ฉก.2 พ.อ.ภคพล มีทิพย์ รอง เสธ.กกล.สุรนารี       พ.ท.จักกฤษณ์ ขุริรัง หน.ฝกร.กกล.สุรนารี  พ.ต.วัฒนา อยู่สุข ฝอ.3 ฉก.2 นายชินวัฒน์ จันเกษม นายด่านศุลกากรช่องจอม นางสาวศิริพักตร์ สนสมบัติ หัวหน้าด่านตรวจสัตว์ป่าช่องจอม นายวัลลภ กองกรม  หัวหน้าด่านตรวจประมงสุรินทร์  ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปด้านสินค้าเกษตรในพื้นที่ด่านถาวรช่องจอม ซึ่งสินค้าที่มีการนำเข้ามากได้แก่ มันสำปะหลังสด มันสำปะหลังแห้ง (มันเส้น) มะม่วงแก้วขมิ้น เป็นหลัก ในส่วนสินค้าส่งออก    จะเป็นมะพร้าวผลสด ปุ๋ย ตาม พ.ร.บ. ปุ๋ย 2518 และสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย 2535 ซึ่งด่านตรวจพืชช่องจอมได้ดำเนินการเอกสารก่อนนำเข้า ส่งออก ให้เป็นไปตามกฎหมาย จากนั้นเดินทางไปยังด่านตรวจพืชช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นด่านตรวจพืชที่ติดกับประเทศกัมพูชา สินค้าเกษตรที่มีการนำเข้าจะเป็นมะม่วง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำมันยาง และพริกสด เป็นหลัก การกระทำผิดในพื้นที่ ไม่พบการกระทำความผิด จากนั้นเดินคณะได้เดินทางไปยังจุดผ่อนปรนการค้าช่องอานม้า อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เพื่อตรวจเยี่ยมและรับฟังการบรรยายการค้าตามแนวชายแดนซึ่งจุดดังกล่าวเป็นพื้นที่ติดต่อ จ.พระวิหาร ของประเทศกัมพูชา และ จ.อุบลราชธานี ของประเทศไทย มีการเปิดให้ค้าขายเป็นช่วง สินค้าเกษตรที่นำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่มะม่วงแก้วขมิ้น และมีการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ น้ำดื่ม นมกล่อง เป็นต้น

ทั้งนี้จากการเข้าร่วมประชุมและการลงพื้นที่ดังกล่าว นายขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย  ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4 ได้เน้นย้ำกับผู้ปฏิบัติงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ ให้มีการประสานงาน   กับหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และให้ปฏิบัติการเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าเกษตร ตามมาตรการป้องปรามสินค้าเกษตรผิดกฎหมายด้านพืช ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส   พรหมเผ่า และแนวทางการปฏิบัติงานของอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ ที่มุ่งเน้น      ปราบปราบสินค้าเกษตรและปัจจัยการผลิตที่ผิดกฎหมาย อันจะเป็นการช่วยป้องกันและปรามปรามผู้กระทำความผิดเบื้องต้นและเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตรของประเทศไทยเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในอนาคตต่อไป

 

   
© 2014-2022 งานสารสนเทศ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 อุบลราชธานี สงวนลิขสิทธิ์.