วันที่ 26 กรกฎาคม 2562 นางนวลจันทร์ ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ พร้อมด้วยคณะข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ เข้าร่วมพิธีลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 67 พรรษา พร้อมทั้งลงนามถวายพระพรโดยพร้อมพรียงกัน
กิจกรรมปลูกป่า
วันที่ 18 มิถุนายน 2562 นางนวลจันทร์ ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ ได้มอบหมายให้ นางสาวจิรัสชญาพร รณเรืองฤทธิ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรมปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายใต้โครงการชุมชนคาร์บอนต่ำ สู่การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลคอโค ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองตามุม อ.เมือง จ.สุรินทร์
อบรมวิทยากร (ครู ข) เรื่องการใช้วัตถุอันตรายพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ให้ถูกต้องและปลอดภัย
วันที่ 23 พฤษภาคม 2562 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ และศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมจัดฝึกอบรม หลักสูตร “อบรมวิทยากร (ครู ข) เรื่องการใช้วัตถุอันตรายพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ให้ถูกต้องและปลอดภัย” ณ ห้องประชุมข้าวหอม 2 ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ให้กับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปอบรมถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้สารวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด แก่เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างฉีดพ่น ผู้จำหน่าย และเพิ่มพนักงานเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลการใช้วัตถุอันตราย โดย นางนวลจันทร์ ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ประมงจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุรินทร์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุรินทร์ สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมในพิธีเปิดการฝึกอบรมดังกล่าว โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 88 ราย

กิจกรรมพี่สอนน้อง
วันที่ 22 เมษายน 2562 ศุนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ ได้จัดกิจกรรมพี่สอนน้อง หลักสูตร มาตรการการจำกัดการใช้วัตถุอันตราย 3 ชนิด พาราควอต ไกลโฟเซต คลอไพรีฟอส ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ วิทยากรโดย นายสุริยา สุทธเสน เจ้าพนักงานการเกษตรปฎิบัติงาน



ระวังไรแดงป่วนไร่มันสำปะหลัง !!!

อากาศแห้งแล้งในช่วงนี้
กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเฝ้าระวังการระบาดของไรแดง สามารถพบได้ในระยะที่มันสำปะหลังมีอายุประมาณ 3 เดือน ไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ใบเหลืองซีดเป็นจุดประขาว ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการสร้างหัวของมันสำปะหลัง ไรแดงที่พบทำลายมันสำปะหลัง มี 3 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน ไรแดงมันสำปะหลัง
และไรแมงมุมคันซาวา สำหรับไรแดงหม่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบแก่และใบเพสลาด หากระบาดรุนแรง
ตัวไรจะเคลื่อนย้ายไปดูดกินน้ำเลี้ยงบนยอดอ่อน โดยสร้างเส้นใยปกคลุมใบและลำต้น
เมื่อไรเริ่มลงทำลายต้นมันสำปะหลังจะสังเกตเห็นรอยทำลายเป็นจุดประด่างเหลืองบนผิวด้านบนใบ
หากไรเข้าทำลายรุนแรง จะทำให้ใบไหม้ ตรงกลางใบขาดพรุน ใบลู่ลง และเหี่ยวแห้ง
กรณีไรแดงหม่อนลงทําลายในต้นมันสําปะหลังที่มีอายุ
1-3 เดือน อาจทําให้ใบร่วง ยอดแห้ง
และตายได้
. ส่วนไรแดงมันสำปะหลังจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณหน้าใบ
ไม่สร้างเส้นใย ทำให้ใบเป็นจุดประสีขาวซีด พบระบาดได้ตลอดปี สำหรับไรแมงมุมคันซาวา
จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบ สร้างเส้นใยปกคลุมผิวใบบริเวณที่ไรอาศัยอยู่
พบระบาดเป็นครั้งคราวแต่การระบาดจะรุนแรงมาก ทำให้ใบไหม้
ใบขาดเป็นรูบริเวณใกล้เส้นกลางใบ ส่งผลทำให้ใบมันสำปะหลังไหม้ทั้งแปลง ใบร่วง และแห้งตาย
เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการปลูกมันสําปะหลังในช่วงที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง
ถ้าพบระบาดของไรแดง ให้เกษตรกรเก็บใบมันสําปะหลังและส่วนที่ถูกทำลายนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
สำหรับในพื้นที่ที่มีการระบาดของไรแดงอย่างรุนแรง ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าไรที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
ได้แก่ สารไพริดาเบน 20% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ
20 ลิตร
หรือสารสไปโรมีซิเฟน 24% เอสซี อัตรา 6 มิลลิลิตรต่อน้ำ
20 ลิตร
โดยควรพ่นสลับชนิดสารเพื่อป้องกันการต้านทานสารป้องกันกำจัดไร
และไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน
3 ครั้ง
.#ภาพไร:สุเทพ
สหายา
มาตรการการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ (Fall army worm)



งานวันดินโลก
วันที่ 3 ธันวาคม 2561 จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ ส่วนราชการต่างๆ ทหาร ตำรวจ สมาคม มูลนิธิ และภาคเอกชน ได้ร่วมจัดงานวันดินโลก 5 ธันวาคม จังหวัดสุรินทร์ ณ โครงการซแรย์อทิตยา ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดย นายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี เปิดกรวย นำกล่าวถวายคำสดุดี หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดินอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ทั้งนี้ นางนวลจันทร์ ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมจัดกิจกรรมและให้บริการทางวิชาการ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ของกรมวิชาการเกษตรด้วย